โรงเรียนบ้านหนองแร้ง (แหลมสุขประชานุกูล)

หมู่ 5 บ้านหนองแร้ง ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

094-9269494

โรงเรียนบ้านหนองแร้ง

นางบุญทวี ทองลิ่ม
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนบ้านหนองแร้ง
(แหลมสุขประชานุกูล)

Previous slide
Next slide

ประวัติ โรงเรียนบ้านหนองแร้ง (แหลมสุขประชานุกูล)

จัดขึ้นโดยนายสุข คล้อยวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลจอมบึง พร้อมกับราษฎรบ้านหนองแร้งร่วมมือกันสร้างโรงเรียนแบบอาคารชั่วคราว เครื่องบนไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา และใบตองตรึง เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2490 มีนายพริ้ง ทองลิ่ม เป็นครูใหญ่
ต่อมาพระอธิการแหลม กิตติสาโร เจ้าอาวาสรางบัว ร่วมกับราษฎรบ้านหนองแร้งได้ร่วมมือกันสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก. (3 ห้องเรียน) แต่ไม่มีฝา หลังคามุงสังกะสี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีให้ชื่อว่า “ โรงเรียนบ้านหนองแร้ง (แหลมสุขประชานุกูล)”
พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป 1 ก. จำนวน 5 ห้องเรียน
พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.017 (2 ชั้น) จำนวน5ห้องเรียน
พ.ศ. 2524 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 601 จำนวน 1 หลัง (4 ที่นั่ง)
พ.ศ. 2526 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 212/26
พ.ศ. 2528 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 จำนวน 1 หลัง (4 ที่นั่ง)

วิสัยทัศน์ / ปรัชญา

โรงเรียนบ้านหนองแร้ง เป็นสถานศึกษาสำหรับการเตรียมความรู้ ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม สู่การเติบโตอย่างมีความสุขสมวัย

โรงเรียนบ้านหนองแร้ง  พันธกิจ / เป้าประสงค์

พันธกิจ
1. เกณฑ์เด็กในพื้นที่เขตบริการเข้าเรียนอย่างทั่วถึง
2. จัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ โดยเน้นผูเรียนเป็นสำคัญ
3. บริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
4. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านคุณธรรมนำความรู้
5. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเต็มศักยภาพ
6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและระดมทรัพยากรทางการศึกษาในท้องถิ่น โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและจัดการศึกษา
7. พัฒนาครูเข้าสู่าตรฐานวิชาชีพ

เป้าหมาย
1. โรงเรียนเป็นแหล่งบริการด้านความรู้ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมท่ีพึงประสงค์
3. นักเรียนมีความสามารถอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเต็มศักยภาพ
4. ครูมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
อัตลักษณ์
อ่อนน้อม ยิ้มง่าย ไหว้สวย
เอกลักษณ์
โรงเรียนรักษ์สะอาด

โครงการ ส่งเสริมทักษะการค้นหาความรู้

เสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้
ในยุคปัจจุบัน มีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน ทุกเวลา และกระจายอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วไป การเรียนรู้แต่เฉพาะในหนังสือเรียน และในห้องเรียนปกติ จึงไม่เพียงพอสำหรับนักเรียน สื่อเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบันเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ได้เป็นอย่างดี ในทำนองเดียวกัน สื่อเทคโนโลยี ก็ยังเป็นดาบสองคมสำหรับนักเรียนเช่นกัน หากไม่รู้จักเลือกใช้ในทางที่ถูกต้อง โรงเรียนจึงต้องเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ ให้เกิดกับเด็ก และยังจะต้องส่งเสริมทักษะการค้นหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เพื่อตอบคำถามในความอยากรู้อยากเห็นของตัวนักเรียนเองอย่างชาญฉลาด และไม่หลงตกเป็นเหยื่อของเทคโนโลยี

โรงเรียนบ้านหนองแร้ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทักษะการค้นหาความรู้ เสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ ให้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้รู้จักดูแลตนเองในสังคมปัจจุบัน ให้เป็นคนฉลาด รู้เท่ากับคนอื่นๆ รู้ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะแวดล้อมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัย รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

โครงการ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

มนุษย์ทุกคน เป็นส่วนหนึ่งของสังคม คุณธรรมและจริยธรรมอันดีของมนุษย์คือพื้นฐานของการสร้างสังคมที่มีความสุข โรงเรียน เป็นสังคมที่เด็กวัยเรียนรุ่นราวคราวเดียวกันมาอยู่ร่วมกัน มาจากต่างความคิด มีความแตกต่างด้านอารมณ์ และสติปัญญา โรงเรียนจึงต้องพัฒนาให้นักเรียนได้มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความกตัญญู ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง รู้จักการเอื้ออาทรต่อสิ่งต่างๆ รู้จักการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
โรงเรียนบ้านหนองแร้งจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ให้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้รู้จักดูแลตนเองในสังคมปัจจุบัน ให้เป็นคนดี รู้หน้าที่ มีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียน เป็นคนดี รู้หน้าที่ มีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

นานาสาระ

 

เรื่อง แนะนำเคล็ด(ไม่)ลับ การเขียนเรื่องสั้น 

 เรื่องสั้นที่เราเห็นกันอยู่จากหลากหลายที่ บางคนมีประสบการณ์งานเขียนมาแล้วก็ทำให้สามารถเรียบเรียงเรื่องราวและถ่ายทอดผ่านการเขียนออกมาได้อย่างน่าอ่านและน่าติดตาม แต่สำหรับมือใหม่บางครั้งไม่รู้จะจับต้นชนปลายอย่างไร ไม่แน่ใจว่าควรเริ่มจากตรงไหน ซึ่งการเขียนเรื่องสั้นนั้นไม่ได้เขียนกันง่ายๆ ไม่แปลกที่มือใหม่อย่างหลายๆคนจะเริ่มต้นไม่ถูก ขึ้นชื่อว่าเรื่องสั้นนั่นหมายถึงไม่ควรยาวเกินไปแต่ต้องสามารถสื่อออกมาได้อย่างครบถ้วน มีข้อจำกัดของความยาว ส่วนมากขะมีการกำหนดจำนวนคำไม่เกินห้าพันคำเป็นอย่างมาก วันนี้เรามาดูเคล็ดลับต่างๆ ในการเขียนเรื่องสั้น ที่จะทำให้งานเขียนของเราง่ายขึ้นกันเถอะ 

 รูปแบบของเรื่องสั้นที่ควรจะเป็น คือ ควรเป็นเรื่องราวที่เมื่อผู้อ่าน อ่านจบแล้วควรมีเรื่องราวที่ครบถ้วนสมบูรณ์ จบได้แบบเข้าใจไม่มีอะไรค้างคา และใช้เวลาในการอ่านไม่นานนัก ประโยคที่เขียนหรือคำที่เลือกมาใช้นั้นควรที่จะต้อง อ่านแล้วเข้าใจความหมายไม่ยืดเยื้อและส่งผลถึงเนื้อเรื่อง รวมถึงการตั้งชื่อเรื่องและประโยคที่ใช้ขึ้นต้นด้วย เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นของผู้อ่าน ทางด้านตัวละครต่างๆ ไม่ควรมีตัวละครเยอะจนเกินไปเพราะจะสร้างความซับซ้อนที่ไม่จำเป็นให้แก่เรื่องราวของเรา  ดังนั้นควรเลือกใส่ตัวละครที่เป็นตัวดำเนินเรื่องและไม่ควรมีตัวประกอบในเนื้อเรื่องเยอะจนเกินไป เมื่อเขียนไปแล้วควรเรียบเรียงให้จบลงอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในย่อหน้าสุดท้ายที่ถือเป็นการจบของเนื้อเรื่องทั้งหมดที่เราต้องการจะสื่อ 

 การเขียนเรื่องสั้นนั้น ควรมีการวางแผนหรือวางแนวทางของเรื่องราวไว้คร่าวๆ ว่าต้องการสื่อถึงอะไรบ้าง และเรื่องราวจะดำเนินไปทางไหนใครเป็นคนดำเนินเรื่องเพราะหากมีตัวละครที่ไม่ไว้วางไว้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้อ่านจะเข้าใจผิดได้ว่าใครเป็นตัวเอกของเรื่องกันแน่ ดังนั้นควรวางเนื้อเรื่องไว้ให้ชัดเจนว่าใครเป็นตัวนำเรื่องในตอนไหน ระหว่างที่เราเขียนไปนั้นควรแทรกจุดมุ่งหมายของเรื่องนั้นๆลงไปเพื่อที่จะค่อยๆสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่าน ถ่ายทอดออกมาให้ชัดเพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจมุมมองที่เราต้องการจะสื่อถึง ให้ง่ายต่อการสื่อสารมาดูวิธีการเริ่มต้นงานเขียนเรื่องสั้นกันเลย 

 -สร้างตัวละครที่น่าสนใจ เรียกว่าตัวละครหลักมีส่วนทำให้เรื่องสั้นของเราน่าติดตาม ใส่ลักษณะที่โดดเด่นของตัวละครลงไปไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา หรืออุปนิสัยที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้คอยติดตามเรื่องราวของตัวละครนั้นๆ 

 -ใส่บทบาทให้กับตัวละคร มีหลายครั้งที่ตัวละครเหมือนจะเป็นคนเรียบๆธรรมดาแต่พอมีบทบาทในเรื่องก็ทำให้เป็นที่รักได้โดยไม่ต้องเรียกร้องอะไรเพิ่ม นี่เรียกว่าบทมันได้ เรื่องมันโดน ยิ่งถ้าสามารถเขียนให้ผู้อ่านอินกับเหตุการณ์ที่มีหรือเกิดขึ้นในบทนั้นๆได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี การใส่บทให้ตัวละครนั้นต้องคำนึงถึงผลที่ตามมาของเนื้อเรื่องด้วยนะ 

 -เพิ่มความสนุกให้กับเนื้อเรื่อง การเพิ่มความสนุกให้เนื้อเรื่องนั้นมักใช้วิธีการเพิ่มอุปสรรคต่างๆให้ตัวละครแบบต้องให้ตัวละครผ่านพ้นปัญหาต่างๆไปให้ได้ ไม่ใช่ราบรื่นไปหมดทุกอย่าง เป็นการเพิ่มความสนุกและเป็นสีสันของเรื่องราว ทำให้ผู้อ่านได้เห็นความพยายามของตัวละคร  

 -เพิ่มความท้าทายให้ตัวละคร อาจจะเป็นการเพิ่มความยากความลำบากให้ตัวละครเรียกว่าบีบให้ต้องเลือกหรือมีการทำภารกิจอะไรบางอย่างและต้องอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด หรือการสร้างข้อผิดพลาดของตัวละครให้มีเรื่องราวมากขึ้น เพื่อที่จะได้ใช้เวลาเรียกรู้กับตัวละครให้ชัดชัด  

 -เขียนให้ตัวละครออกมาจากความยากลำบากนั้น วิธีนี้คือเขียนให้ตัวละครได้ใช้ความสามารถเพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ผู้อ่าน ทำให้ตัวละครได้แสดงทักษะของตัวเองเพื่อแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ถือเป็นการเขียนให้ผู้อ่านเกิดความผูกพันกับตัวละครนั้นๆ 

 ดังนั้นเคล็ด(ไม่)ลับที่ควรมีในการเขียนเรื่องสั้น ควรคำนึงถึงเนื้อหาที่ค่อนข้างเขียนได้แบบจำกัดตัวอักษรเพราะฉะนั้นควรมีตัวละครในเรื่องน้อยที่สุดหรือเรียกได้ว่ามีแค่ตัวละครที่จำเป็นในการเล่าเรื่อง ควรมีการเขียนโครงเรื่องคร่าวๆพร้อมกับลักษณะของตัวละครแต่ละตัวที่อยากจะถ่ายทอดออกไปเพื่อให้ตอนเขียนจริงเราไม่เขียนออกนอกเรื่องไปไกลเกินไป มีการเขียนแนะนำสถานที่และฉากต่างๆเพื่อแนะนำให้รู้ว่าตัวละครนั้นๆกำลังทำอะไรอยู่ ให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากที่สุด ว่าตัวละครกำลังทำอะไรอยู่ 

เพราะเราใช้การเขียนอาจจะค้องสื่อสารออกมาให้เห็นภาพชัดเจน หากเป็นละครที่ออกอากาศทางโทรทัศน์หรือเป็นวิดีโออันนั้นยังสามารถถ่ายทำออกมาและแสดงถึงฉากกับสถานที่นั้นได้เห็นภาพมากกว่าการเขียน การเขียนตอนเริ่มเรื่องต้องมีความแปลกใหม่หรือชวนให้น่าติดตามเพื่อผู้อ่านจะได้อยากอ่านต่อในเนื้อหาต่อไป เขียนไปที่ประเด็นหลักที่อยากจะสื่อสารและถ่ายทอดออกมาเพราะถ้าไปสนใจแต่การเขียนบรรยายอะไรที่ไม่จำเป็นจะทำให้ยืดเยื้อเสียเวลา ในตอนจบควรมีการเฉลยหรือตอบข้อสงสัยในทุกเรื่องของเรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านได้มีความกระจ่าง และตอนจบสามารถเขียนหักมุมหรือใส่เรื่องที่ผู้อ่านคิดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้นเข้าไปเพื่อความสนุกและประทับใจทำให้เกิดความเข้าใจและเรื่องราวที่แตกต่าง

 ที่ ไม่ได้คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่การเขียนเรื่องสั้น ควรเขียนให้กระชับตรงประเด็นไม่ยืดเยื้อ มีความเรียบง่ายแต่น่าติดตามไม่ควรมีตัวละครมากมายจนเกินไปเนื่องจากอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนง่ายและเราไม่ได้มีเวลาในการเขียนบรรยายรายละเอียดมากนัก เพราะฉะนั้นถ้าเขียนให้ตรงประเด็นเลยก็จะทำให้ประหยัดเวลาของผู้อ่านสร้างความเข้าใจได้ง่ายและสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวที่เราต้องการจะสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์  

 การเขียนเรื่องสั้นไม่ใช่เรื่องง่ายก็ไม่ยากจนเกินไปหากเรามีการวางแผนที่ดี ตามคำแนะนำด้านบนซึ่งจริงๆแล้วการเขียนทุกอย่างสามารถอ้างอิงวิธีการดังกล่าวได้ เขียนให้กระชับ ตรงประเด็น ไม่ถึงตัวละครที่ไม่จำเป็นมาเขียนให้เนื้อเรื่องเกิดความวุ่นวายมากจนเกินไป ทางที่ดีที่สุดคือสร้างปมความขัดแย้งเพียงแค่หนึ่งเรื่องเพราะเรามีข้อจำกัดในคำที่ต้องเขียนบรรยาย และนำปมความขัดแย้งนั้น มาเป็นตัวผูกเรื่องราวต่างๆ อย่างไรก็ตามลองเริ่มต้นลงมือเขียนดูนะคะ ดึงจินตนาการของแต่ละคนออกมา การเขียนบ่อยๆถือเป็นการฝึกฝนทักษะอยู่เสมอ ขอให้ทุกคนสนุกสนานและมีความสุขกับการเขียนค่ะ 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์