โรงเรียนบ้านหนองแร้ง (แหลมสุขประชานุกูล)

หมู่ 5 บ้านหนองแร้ง ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

094-9269494

ตัวละคร

ตัวละคร

อาชีพ Profession

 

1) อาชีพ Profession

ตัวละครมี อาชีพ ทานากินเลี้ยงตัวเองอย่างไร ทำงานที่ไหน เป็น

คนงาน นักร้อง เจ้าของกิจการขนาดเล็ก คนจรจัด แม่ค้า

นักวิทยาศาสตร์หมอฟัน ทนายความ หมอนวด ฯลฯ ถ้าตัวละคร

ทำงานในบริษัท เขาทาอะไรบ้าง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร เข้ากันได้ไหม

ช่วยเหลือหรือให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน อิจฉาริษยากัน หรือไม่ชอบขี้หน้ากันหรือไม่เข้าสังคมกินเหล้าหลังเลิกงานกับ เพื่อนฝูงหรือไม่คบใครเลย เข้ากับเจ้านายได้หรือไม่มี ความสัมพันธ์กันดีไหม มีเงินเดือนเพียงพอหรือไม่ ฯลฯ เมื่อ สามารถเผยให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวละครกับคนอื่นได้จึง เท่ากับว่าได้สร้างมุมมองที่เป็นส่วนตัวของตัวละครให้เกิดขึ้น แสดงว่ามาถึงจุดเริ่มต้นในการสร้างตัวละครแล้ว

2) สถานภาพ (Status)

ตัวละครหลักเป็นคนมีสถานภาพอย่างไร เช่น เป็นโสด อยู่คน เดียว เป็นหม้าย เก็บตัว แต่งงานเป็นเรื่องเป็นราว หรืออยู่กิน กันเฉยๆ แยกกันอยู่หย่าขาดกัน ถ้าแต่งงาน แต่งกับใคร เมื่อไหร่ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาเป็นอย่างไร สถานภาพใน สังคมเป็นอย่างไร เข้าสังคมหรือแยกตัวออกจากสังคม มีเพื่อน มากมายหรือไม่มีเพื่อน

ชีวิตแต่งงานมั่นคงหรือสั่นคลอน ไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่น หรือไม่ซื่อสัตย์ต่อกันหรือยึดมั่นในชีวิตคู่ถ้าเป็นโสดสภาพชีวิต เป็นอย่างไร ยึดมั่นในพรหมจรรย์หรือใช้ชีวิตเสเพล ถ้ามีปัญหา เกี่ยวกับตัวละครให้มองกลับไปที่ชีวิตจริงแล้วถามตัวเองว่าถ้า อยู่ในสถานะเช่นนั้นเราจะทาอย่างไร

3) ชีวิตส่วนตัว (Private Life)

ตัวละครหลักทาอะไรเมื่ออยู่คนเดียวเช่น ดูโทรทัศน์อ่าน หนังสือ เขียนหนังสือ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ขี่จักรยาน ปลูก ต้นไม้ตกแต่งสวน จ๊อกกิ้ง เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว หรือเลี้ยง สัตว์เลื้อยคลาน เป็นตัวอะไร สะสมอะไร มีงานอดิเรกอะไรที่ น่าสนใจ โดยรวมแล้วชีวิตส่วนตัวอื่นๆ คือ ช่วงที่เป็นชีวิตของ ตัวละครทาอะไรเมื่อต้องอยู่คนเดียว ในแต่ละกิจกรรมจะแสดง ให้เห็นถึงมิติและความลึกของตัวละคร (Character Depth) ได้ มากขึ้น

“…ผมชื่อ โจ แม่เรียกไอเจ๊ก เกิดที่บางลาพู เตี่ย ตายตั้งแต่ผมอายุ5 ขวบ แม่ผมเป็นพนักงาน เดินตลาด ขายเครื่องสำอางและต้องออกจาก บ้านทุกวัน ผมไม่เข้าใจว่าทำไม และตอนนี้ ผม คิดว่าผมอยากจะทาอะไรสักอย่าง…” ในการเขียน

ประวัติชีวิตของตัวละครอาจจะเริ่มเขียนดีขึ้นเมื่อผ่านไปแล้ว3 คน ฉะนั้นประวัติของตัวละครจึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วย ให้ฝึกเขียนได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น การเขียนแง่มุมต่างๆ ของตัวละคร ได้แก่อาชีพ สถานภาพชีวิต และชีวิตส่วนตัว ดังที่กล่าวมาแล้วควรเขียนให้ ได้ประมาณ1-2 หน้า โดยอธิบายรายละเอียด เพราะมี ความสำคัญในการช่วยเปิดเผยให้เห็นลักษณะนิสัยของตัวละคร ได้มากและลุ่มลึกขึ้น

เป้าหมายของตัวละคร (Character’s Goal)

เป้าหมายของตัวละครถูกกำหนดขึ้นเพื่อบอกทิศทางความ เคลื่อนไหวของตัวละครว่าถ้าตัวละครต้องการสิ่งใด เขาควรหัน ทิศทางการดำรงชีวิตไปในทางใด โดยไม่จำเป็นว่า ถูกหรือผิด

อย่างไรก็ตามการบรรลุเป้าหมายของตัวละคร (Dramatic Action) เป็นไปได้ทางนามธรรมและรูปธรรม คือผู้ชมก็จะ

เกิดอารมณ์ร่วม คือ ร่วมลุ้น ร่วมให้กำลังใจตัว

ละครไปด้วยหากตัวละครสามารถเอาชนะอุปสรรคได้ ผู้ชมก็จะรู้สึกร่วมไปกับตัวละครนั้น ถือได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนั้น ก็ประสบความสำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว แต่ถ้าไม่สำเร็จ ตัวละครก็ จะต้องหาหนทางแก้ปัญหาต่อไป เพื่อดึงอารมณ์ผู้ชมให้ได้

5.3 ความขัดแย้ง (Conflict)

ความขัดแย้งเป็นการกำหนดความต้องการ หรือตั้งเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับตัว ละคร แล้วสร้างอุปสรรคให้ตัวละครแก้ปัญหา

หรือพยายามบรรลุเป้าหมายนั้น หมายความว่าตัวละครต้อง พบกับอุปสรรคคอยขัดขวางและจำเป็นต้องเอาชนะอุปสรรค เพื่อการแก้ปัญหาความขัดแย้ง หากเพิ่มข้อขัดแย้งก็ยิ่งทวี ความรุนแรงเข้มข้นขึ้น และจะคลี่คลายลงเมื่อความต้องการ หรือเป้าหมายนั้นได้รับการตอบสนองและบรรลุผลแล้ว

ความขัดแย้งมาหลายประเภท

1ระหว่างบุคคล

2ระหว่างคนกับสังคม

3ขัดแย้งภายในจิตใจของตนเอง

4ขัดแย้งระหว่างคนกับธรรมชาติ

นอกจากนี้ภาพยนตร์ต้องชักจูงให้เห็นสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับตัวละคร เป็นคำถามเสมอว่าทำไมพลังของตัวละครจึงมีความสำคัญมาก การสร้างให้ตัวละครมีพลังเป็นมนต์ขลังที่สะกดผู้ชมเขียน บทภาพยนตร์จะสามารถเขียนให้ตัวละครเกิดพลังโดยอาศัย วิธีการ ดังต่อไปนี้

1) การอธิบายลักษณะทางกายภาพ

(Physical Description)

หมายถึง การอธิบายลักษณะของตัวละครสั้นๆ เช่น อายุ40 ปีต้นๆ รูปร่างใหญ่สูบบุหรี่จัดมวนต่อมวน อาศัยอยู่ในบ้าน

ใหญ่โตหรือเล็ก ประดับประดาหรูหรา ขับรถรุ่นใหม่ล่าสุด

หรือสวยงามเก๋ไก๋แต่งตัวเท่โดยไม่ต้องเน้นเจาะจง

มากเป็นการอธิบายธรรมดาทั่วไปไม่เกิน 4ประโยค เช่น

ที่พักเป็นอพาร์ทเม้นท์ มีสีสัน เป็นกระจก ทาสีผนังแบบ สมัยใหม่หรือพักอยู่ในอพาร์ทเม้นท์ธรรมดาสไตล์วินเทจ

ตกแต่งอย่างมีรสนิยม ซึ่งการอธิบายสั้นๆ กะทัดรัดเพียงเท่านี้ ก็ทำให้มีความชัดเจน เข้าถึงดังนั้นจุด การอธิบาย

ลักษณะทางกายภาพของตัวละครได้จะบอก

ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากรู้เกี่ยวกับตัวละคร ออกมาเป็นภาพ

2) การอธิบายฉาก (Scene Description)

หมายถึง ส่วนของบทภาพยนตร์ที่สามารถทำให้เห็นลักษณะของ ตัวละครได้

การใช้เสียงนอกเฟรม (Voice-Over หรือVO)

หมายถึง การใช้เสียงบรรยาย หรือบทพูดที่ไม่เห็น ตัว ผู้แสดง หรือVoice Over ทำาหน้าที่ช่วยเสริม มิติในภาพยนตร์ได้

) การใช้ภาพถ่ายในอดีต (Still Photo Montage)

ในบทภาพยนตร์บางเรื่องใช้ภาพนิ่งเป็นภาพเล่าเรื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวในอดีตเพื่อให้ เหตุการณ์ที่ยืดยาวให้กระชับขึ้นใช้เป็นหรือ ตัวเปิดเรื่องให้เห็นบรรยากาศโดยทั่วไปก่อนที่ จะพาผู้ชมเข้าสู่เรื่องหลักต่อไป

การเขียนบทภาพยนตร์ในฉาก หรือในซีเควนส์ที่เป็นภาพถ่าย เรียงลำดับต่อเนื่องกันพร้อมกับมีเสียงบรรยาย ควรเขียนบท บรรยายก่อน เพราะจะไม่ต้องกังวลในเรื่องภาพ โดยเขียน บทบรรยายให้ครอบคลุมพอเพียงต่อการเล่าเรื่องเท่าที่จะเป็น ไป

ได้จากนั้นค่อยเลือกภาพถ่าย หรือฉากที่ต้องการใช้ตามลำดับ ถ้าใช้ภาพถ่ายอย่างเดียวให้อธิบายบนกระดาษ แต่ละภาพ แล้ว

ลองเรียงสลับกันไปมาตามลำดับความเหมาะสมที่คิดว่าที่สุด

โดยเลือกใช้อย่างระมัดระวังแต่อย่ามากเกินไป

เมื่อเขียนบทสนทนาและเรียงลำดับภาพถ่ายเรียบร้อยแล้ว ลองเรียงสลับกันแล้วขัดเกลาปรับปรุงคำพูดกับภาพเข้า

ด้วยกันใหม่ให้กระชับ ถ้ายังไม่ดีก็ลองหาภาพใหม่ให้เข้ากับ

ภาพที่จะมาเชื่อมกัน (Transitional) ให้ราบรื่นจนกระทั่งซีเควนส์นั้นลื่นไหล

การใช้ภาพย้อนอดีต (Flashback)

หมายถึง การตัดสลับระหว่างปัจจุบันกับอดีตเพื่อให้เห็นพลังแห่ง

ภาพ การย้อนอดีตอาจเป็นเสี้ยวหนึ่งของฉาก หรือเป็นฉาก เดียวกันทั้งหมดเกือบทั้งเรื่องได้และภาพยนตร์บางเรื่องใช้ภาพ จมน้ำ หรือถูกข่มขืนในอดีตมาเป็นปมของเหตุการณ์ปัจจุบันใน

ภาพยนตร์การเปิดเผยบางสิ่งบางอย่างในอดีตจึงเท่ากับเป็นการ หยุดเหตุการณ์ในปัจจุบันไว้ การใช้ภาพย้อนอดีตมากๆ งต้อง จึงระมัดระวัง